51. CAL
( Clien Access licence ) ลิขสิทธ์ที่ใช้กับเครื่องที่มีการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในบริษัทของท่านต่อกันเป็นระบบเครือข่าย ท่านจะใช้ประโยชน์จากบริการของเซิร์ฟเวอร์เครือข่าย และเวิร์กสเตชั่นก็สามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของเซิร์ฟเวอร์ เช่น การใช้ไฟล์และการพิมพ์ร่วมกัน ในการใช้งานซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ หรือ CAL โดย CAL ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ แต่เป็นลิขสิทธิ์การใช้งานซอฟท์แวร์ที่ให้ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าถึงบริการของเซิร์ฟเวอร์
52. COA
( Certificate Of Authentisity ) เอกสารที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ซอฟท์แวร์และองค์ประกอบเป็นของแท้ โดย COA จะมาพร้อมกับ CD แต่ละชุด และรับรองให้กับซอฟท์แวร์ที่จัดจำหน่ายอย่างถูกต้องเท่านั้น
* COA ไม่ถือว่าเป็นการให้สิทธิการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ใช้จะได้รับการอนุญาตให้ใช้ซอฟท์แวร์อย่างถูกต้อง เมื่อซอฟท์แวร์นั้นเป็นของแท้เท่านั้น COA จึงเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบว่า ผู้ใช้ได้รับซอฟท์แวร์ของแท้ที่ได้รับสิทธิในการใช้อย่างถูกต้องหรือไม่
* COA ไม่ถือว่าเป็นการให้สิทธิการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ใช้จะได้รับการอนุญาตให้ใช้ซอฟท์แวร์อย่างถูกต้อง เมื่อซอฟท์แวร์นั้นเป็นของแท้เท่านั้น COA จึงเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบว่า ผู้ใช้ได้รับซอฟท์แวร์ของแท้ที่ได้รับสิทธิในการใช้อย่างถูกต้องหรือไม่
53. EULA
( End User Licensing Agrement ) คือ ข้อตกลงว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้ซอฟท์แวร์สำหรับผู้ใช้ ซึ่งจะกำหนดขอบเขตการใช้ซอฟท์แวร์ ในกรณีที่ผู้ใช้ได้รับซอฟท์แวร์ ข้อตกลงนี้จะเป็นการตกลงระหว่างผู้ผลิต PC และผู้ใช้งาน สำหรับกรณีที่ผู้ใช้งานซื้อซอฟท์แวร์แบบจำหน่ายปลีก (Full-Package Product) ข้อตกลงนี้จะเป็นการตกลงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้
54. FPP
( full Packaged Product ) ผลิตภัณฑ์ประเภทกล่องจำหน่ายตามร้านค้าปลีก โดยภายในกล่องจะประกอบด้วย คู่มือการใช้งาน ใบรับรองสินค้าของแท้ ใบอนุญาตการใช้งาน แผ่นดิสก์ หรือ CD-Rom
55. Internetworking
การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ข้ามเครือข่ายหลายๆ เครือข่าย
56. L&SA
( Licence & Software Assurance ) สิทธิในการใช้งานซอฟท์แวร์ไมโครซอฟท์ และรับประกันการอัพเกรด เพื่อใช้รุ่นใหม่ ตลอดช่วงเวลาที่ทำสัญญานั้นครอบคลุมอยู่
57. LARs
( Large Account Resellers ) สำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากไมค์โครซอฟท์
58. MOLP-AE
( Microsoft Open Licence For Academic ) กลุ่มลูกค้า นักศึกษา อาจาร์โรงเรียน
มหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษา หรือ โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ที่มีการจดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาอย่างถูกต้อง วัด พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด
มหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษา หรือ โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ที่มีการจดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาอย่างถูกต้อง วัด พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด
59. MOLP-C
( Microsoft Open licence For Charity ) กลุ่มลูกค้าทีได้รับการจากประกาศจากกรมสรรพากรกำหนดให้เป็นองค์สถานสาธารณกุศล อทิเช่น สภากาชาดไทย มูลนิธิจุฬาภรณ์ และอื่นๆ
60. OLP
(Open License Product) เหมาะสำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 5 เครื่องขึ้นไป Open License ช่วยให้ท่านประหยัด เมื่อซื้อลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์ ท่านสามารถกำหนดจำนวนลิขสิทธิ์ที่ต้องการสั่งซื้อจากผู้จำหน่ายทั่วไปและรับสิทธิการใช้งาน ทั้งนี้ท่านต้องสั่งซื้อ CD เพื่อการติดตั้งจากไมโครซอฟท์ หรือติดตั้งจาก CD ที่ท่านเคยซื้อมาแล้ว หลังจากที่ท่านซื้อลิขสิทธิ์แบบ Open License แล้วท่านจะได้รับจดหมายยืนยันการซื้อ (Notification Letter) จากไมโครซอฟท์ซึ่งจะมีหมายเลข License Authorization เพื่อใช้ในการเรียกข้อมูลลิขสิทธิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น